Forex หรือ Foreign Exchange เป็นตลาดที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกันอย่างแพร่หลาย การลงทุนใน Forex เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา การที่จะมีกำไรใน Forex นั้นเราจะต้องสามารถสังเกตแนวโน้มของราคาและการเคลื่อนไหวของตลาดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งแนวรับแนวต้านก็เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่มือใหม่ควรรู้จัก ซึ่งต้องบอกก่อนว่าเรื่องของแนวรับแนวต้านเหมือนจะเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่จริงๆแล้วแนวรับแนวต้านมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด หลายๆคนใช้แค่แนวรับแนวต้านก็สามารถที่จะเทรดทำกำไรและอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนด้วย
วันนี้จะมาสอนทุกคนว่าเราต้องดูแนวรับแนวต้านยังไง? แนวรับแนวต้านแบบไหนที่เรียกว่าสำคัญ? แนวรับแนวต้านเมื่อราคามาถึงแล้วเรากดเทรดได้เลยไหมหรือเราจะต้องรออะไร? ก่อนอื่น เราต้องมารู้จักแนวรับแนวต้านกันก่อน ว่าแนวรับแนวต้านมันคืออะไร
แนวรับ (Support) ใน Forex คืออะไร?
แนวรับ (Support) คือ จุดที่ราคาลงมาสัมผัสแล้วมีการเด้ง เป็นเส้นที่รับราคาไว้ไม่ให้ต่ำไปกว่านี้ บ่อยครั้งเมื่อราคามาถึงแนวรับมักมีแรงซื้อมากพอที่จะดันราคากลับขึ้นไป หรือควบคุมราคาไม่ให้ต่ำไปกว่านี้ วิธีสังเกตแนวรับคือจุดที่ราคาลงมาสัมผัสแล้วเด้งกลับขึ้นไปบ่อยๆ ยิ่งราคามาเทสบ่อยแนวรับนั้นจะยิ่งแข็งแรง
แนวต้าน (Resistance) ใน Forex คืออะไร?
แนวต้าน (Resistance) คือ จุดที่ราคามีการขึ้นมาทดสอบแล้วก็ย่อลงไป เป็นเส้นที่ต้านราคาไว้ไม่ให้ทะลุขึ้นไป บ่อยครั้งเมื่อราคามาถึงแนวต้านมักมีแรงเทขายทำให้ราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ วิธีสังเกตแนวต้านคือจุดที่ราคาขึ้นไปสัมผัสแล้วเด้งกลับลงมาบ่อยๆ ยิ่งราคามาเทสบ่อยแนวต้านนั้นจะยิ่งแข็งแรง
ทั้งแนวรับและแนวต้านเป็นแนวหรือเป็นจุดราคาที่มีการมาทดสอบและเกิดการ Action เกิดขึ้น โดยถ้าเกิดว่าเป็นแนวรับ พอราคาเดินทางลงมาไม่ว่าจะเดินทางมาด้วยแบบไหน เมื่อมาถึงแนวรับสิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดการแอคชั่น ถ้าเป็นแนวรับราคาจะต้องมีการเด้งขึ้นมา คือราคาไม่สามารถที่จะทะลุลงไปได้ อันนี้คือนิยามของแนวรับ
ส่วนแนวต้าน ก็ตรงข้ามกัน แนวต้านถ้าเกิดว่าราคาเดินทางเข้ามาหาแนวต้านราคาจะเกิดการ Action โดยราคาจะย่อตัวลง ราคาไม่สามารถที่จะทะลุขึ้นไปได้ เกิดการแอคชั่นและราคาย่อตัวลง นี่คือนิยามของแนวรับแนวต้านง่ายๆ
ประเภทของแนวรับ/แนวต้าน
หลังจากที่เรารู้นิยามและว่าแนวรับแนวต้านคืออะไร เรามารู้จักประเภทของแนวรับแนวต้านกันบ้างดีกว่า จริงๆแล้วแนวรับแนวต้านมีหลายประเภทมากๆ แต่ว่าวันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก 2 ประเภทด้วยกัน
1. แนวรับแนวต้านทั่วๆไป
แนวรับแนวต้านแบบธรรมดาเราจะตีเป็นเส้นแนวนอน เราจะไม่ตีเฉียง ถ้าเกิดว่าเป็นแนวต้านคือเป็นจุดที่ราคามาถึงแล้ว Action ย่อตัวลง ส่วนแนวรับคือจุดที่ราคาย่อตัวลงมาแล้วเด้งขึ้น
2. แนวรับแนวต้านแบบเฉียง (Trend Line)
ถ้าเกิดว่ากราฟเป็นเทรนขาขึ้น ก็จะมีการยกโลยกไฮขึ้นเรื่อยๆแบบนี้ถึงจะเป็นเทรนขาขึ้น เวลาที่เราจะตีแนวรับแบบเฉียงในเทรนที่เป็นขาขึ้น ให้เราตีประกบระหว่าง Swing Low เราจะตี 2 สวิงล่าสุด หรือ ตีให้เส้นเทรนไลน์สัมผัสกับ Swing Low ให้ได้มากที่สุด
ถ้าเกิดว่าเป็นเทรนด์ขาลง ก็จะมีการทำไฮโลต่ำลงเวลาที่เราจะตีแนวรับแบบเฉียงหรือว่าตีเทรนไลน์ในช่วงที่กราฟเป็นขาลงให้เราตีเชื่อมระหว่าง Swing High จะตี 2 สวิงล่าสุดก็ได้หรือจะตีให้ Swing High มีการมาสัมผัสกับเส้นนั้นให้ได้มากที่สุดก็ได้
การใช้แนวรับ/แนวต้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวรับแนวต้านบ่งบอกถึงนัยสำคัญของระดับราคานั้นๆ ถือเป็นจุดที่เอาไว้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมราคา ส่วนใหญ่เทรดเดอร์จะใช้แนวรับแนวต้านร่วมกับเทคนิคอื่นๆเพื่อพิจารณาหรือให้น้ำหนักกับจุดเข้าเทรดนั้นๆ และสามารถวางแผนการเปิด-ปิดออเดอร์ได้อย่างถูกต้อง การใช้แนวรับแนวต้านเพียงอย่างเดียวเป็นจุดซื้อขายถือว่ามีความเสี่ยงเกินไป เนื่องจากตลาดมีความผันผวนทำให้มีโอกาสที่ราคาจะทะลุแนวรับแนวต้านได้ โดยการใช้แนวรับแนวต้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีอยู่ 4 หลักการด้วยกัน คือ
1. Trend (เทรนด์)
มาเริ่มกันที่ข้อแรก ก็คือเรื่องของเทรนด์นั่นเอง เรื่องนี้ให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่งเลย เพราะเวลาที่เราเทรดเราชอบเทรดตามเทรนด์มากกว่า และก็ Win Rate เวลาที่เราเทรดตามเทรนก็จะสูงกว่าสวนเทรนอยู่แล้ว ถ้าเกิดว่าเป็นเทรนขาขึ้นเราจะหาจังหวะในการ Buy ซึ่งได้เปรียบมากกว่า ถามว่าเซลล์ได้ไหมในเทรนขาขึ้นก็เซลล์ได้แต่เราก็ต้องดูจังหวะให้ดีๆอาจจะต้องลดเสี่ยงหรือจะต้องคอนเฟิร์ม
สำหรับเทคนิคการ Buy ถ้าเกิดว่าตรงนั้นมีแนวรับก็ Buy ได้ แต่ถ้าเกิดว่าเป็นหน้าเทรด Sell ได้เปรียบเราจะหาจังหวะในการเซลล์ซึ่งจะเป็นการ Sell ตรงแนวต้าน
2. ความแข็งแรงของแนวรับแนวต้าน
วิธีการดูความแข็งแรงของแนวรับแนวต้าน คือ แนวรับแนวต้านนั้นมีการมาทดสอบ 3 ครั้งขึ้นไปหรือเปล่า? ถ้ามีการทดสอบตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปหมายความว่าแนวรับแนวต้านมีลักษณะแข็งแรง ถ้าราคากลับลงมาอีกทีเป็นครั้งที่ 4 เราเห็นแล้วว่าแนวรับนี้มีความแข็งแรงเราก็จะหาจังหวะในการเทรด Buy นั่นเอง
ส่วนแนวต้านก็เหมือนกัน ถ้าเกิดว่ามีการมาแอคชั่นที่แนวต้านแล้วย่อ Action ที่แนวต้านย่อชนแล้วย่อหลายๆครั้ง 3 ครั้งขึ้นไปที่แนวต้านนี้ เราจะมองเป็นแนวต้านที่แข็งแรงเช่นเดียวกัน ถ้าเกิดว่าราคาขึ้นมาทดสอบที่แนวต้านอีกครั้งเราก็จะหาจังหวะในการเทรด Sell
สิ่งสำคัญคือ ความแข็งแรงของแนวรับแนวต้านนั้นไม่เหมือนกับโซน ถ้าเกิดว่าเป็นโซนถ้ามีการทะลุโซนแล้วโซนนั้นเราจะไม่ใช้แล้ว แต่แนวรับแนวต้านไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดว่ามีการทะลุหรือมีการทำลายแนวรับแนวต้านได้เราจะยังให้จุดนั้นเป็นจุดที่มีนัยยะหรือเป็นจุดที่มีความแข็งแรงเหมือนเดิมแต่แค่เปลี่ยนหน้าที่กัน ถ้าเคยเป็นแนวรับอยู่มันจะกลายเป็นแนวต้าน ถ้าเกิดเป็นแนวต้านอยู่จะกลายเป็นแนวรับที่เข็งแรง
เช่น เคยเป็นแนวรับที่แข็งแรง จากนั้นราคาทะลุลงมาแล้วก็ปิดเหนือไม่ได้อีกต่อไป แนวรับนั้นเปลี่ยนหน้าที่ทันทีเปลี่ยนจากแนวรับกลายเป็นแนวต้านเลย หมายความว่าพอราคาหลุดแล้วมีการกลับไปทดสอบอีกครั้งนึงมันจะต้านราคาจะย่อลง พอราคาขึ้นมาทดสอบที่เส้นเดิมเราจะหาจังหวะเซลล์ลงไปแทน
3. การคอนเฟิร์ม
การคอนเฟิร์มคือเวลาที่ราคามาถึงบริเวณแนวรับหรือแนวต้านเราจะไม่ได้กด Buy หรือกด Sell ทันที ถ้าใช้แนวรับแนวต้านในการเทรด ข้อนี้ก็สำคัญมากๆเพราะเมื่อราคามันถึงแนวต้านเราจะไม่ได้กดเซลล์ทันที แต่เราจะรอสัญญาณคอนเฟิร์มซึ่งการคอนเฟิร์ม ก็อย่างเช่น Classic Divergence , แท่งเทียนกลับตัว หรือ QM หรือใครจะมีเทคนิคอย่างอื่นที่ช่วยคอนเฟิร์มการกลับตัวก็ใช้ได้
เพราะอะไรทำไมเวลาเราใช้แนวต้านถึงต้องรอคอนเฟิร์มด้วย ก็เพราะว่าแนวรับแนวต้านจริงๆแล้วมันไม่ใช่เส้นๆเดียวแนวรับแนวต้านเราสามารถที่จะมองเป็นโซนเป็นกว้างๆได้ เคยเจอแบบนี้ไหมแนวต้าน ราคามาแล้วแทงขึ้นไปบางทีแทงไปไกลมากยิ่งใน TF Day หรือ Week ระยะที่มันแทงขึ้นมาอาจจะเป็นพันจุดก็ได้ แต่สุดท้ายรูดกลับลงมาอยู่ใต้แนวต้าน คือแค่แทงขึ้นไปเฉยๆ แต่สุดท้ายก็มีแรงขายกลับลงมาปิดใต้แนวต้านอยู่ดีลักษณะแบบนี้คือแนวต้านนี้ยังเอาอยู่ ต่อให้มันจะแทงไส้เทียนขึ้นไปยาวแค่ไหนแต่ถ้าปิดใต้ได้แสดงว่าแนวต้านนี้ยังเอาอยู่
นี่คือเหตุผลว่าทำไมราคามันถึงแนวรับแนวต้านแล้วเราต้องรอคอนเฟิร์มก่อนเพราะถ้าเราไม่รอคอนเฟิร์มเรามีโอกาสที่จะถูกลากไปไกลหรือพอร์ตแตกได้
4. Time Frame
เรื่องของ Time Frame เราจะให้ความสำคัญกับ Time Frame ที่ใหญ่กว่าเสมอ เช่น Day > H4 > H1 > m30 ไล่ลงไปเรื่อยๆจนถึง m1 ซึ่งแต่ละ TF ระยะการแอคชั่นของราคาก็ไม่เท่ากัน จริงๆแล้วแนวรับแนวต้านใช้ได้ทุก Time Frame เพียงแต่ว่าระยะการแอคชั่นของมันต่างกันถ้าเกิดว่าคุณจะเทรดใน m1 โดยใช้แนวรับแนวต้านได้แต่มันอาจจะ Action นิดเดียว ถ้าเกิดว่าคุณชอบเทรดสั้นมากๆแบบระยะ 50 จุด 100 จุดแล้วเก็บกำไรก็อาจจะใช้แนวรับแนวต้านเล็กๆได้ เช่น m5 หรือ m1 ได้ แต่ถ้าเกิดว่าเราไม่ได้ชอบเทรดสั้นขนาดนั้นหรือไม่ได้มีเวลานั่งจ้องกราฟตลอดเวลา คุณอาจจะต้องใช้ TF ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้มันวิ่งได้ระยะมากขึ้นอาจจะ 500 จุด 800 จุด 1,000 จุดแล้วค่อยเก็บกำไรก็ได้ ถ้าสำหรับมือใหม่หรือคนไม่ค่อยมีเวลาแนะนำให้ดูแนวรับแนวต้านตั้งแต่ TF 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง เป็นต้นไป
พาดูตัวอย่างกราฟจริง
สรุป
จบไปแล้วสำหรับแนวรับแนวต้าน อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้ เอาไปฝึกวาด เอาไปฝึกอธิบายหรือสอนคนอื่นดู เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเก่งขึ้นแน่นอน การใช้แนวรับและแนวต้านในการลงทุน Forex นั้นถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ต้องเข้าใจ เนื่องจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุนได้ ดังนั้นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจในการลงทุนในตลาด Forex อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
สนใจคอร์สเรียน สัมมนาฟรี และข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่
Facebook: Bravo Trade Academy Global
YouTube: Bravo Trade Academy
Line@: BravoTradeAcademy
Instagram: Bravotradeacademy
TikTok: @bravo_tradeacademy
Twitter: Toeybravo
Website: www.bravotradeacademy.com