วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Money Management หรือการบริหารเงินทุน หรือการ MM สิ่งที่อยากให้ทุกคนรู้ก่อนเลยก็คือ
- เราไม่สามารถ เทรดแล้วทำกำไรได้ทุกครั้ง เราจะต้องมองการเทรดให้เป็นเกมยาว เราจะไม่เข้ามาทำกำไรแค่ไม้สองไม้ แล้วก็ออกไปจากตลาด เราจะต้องมองเกมนี้ให้มีทั้งแพ้และชนะ สุดท้ายแล้วเราจะให้มีไม้ที่ชนะมากกว่าแพ้ และมีเงินทุนพอที่จะออกไม้ได้เรื่อยๆ อย่างยั่งยืน
- ไม่มีอะไรแน่นอน 100% ในโลกของการเทรด ไม่ว่าจะเป็นข่าวสงครามข่าวด่วน หรือมีคนออกมาประกาศข่าวอะไร ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ สิ่งที่เราต้องโฟกัสก็คือสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ ซึ่งก็คือเรื่อง mindset การบริหารเงินทุนและการจัดการความเสี่ยง
สิ่งที่อยากให้เราคิดก็คือเรามีเงินทุนจำกัด เราไม่สามารถเทรดได้ทุกไม้หรือทุกโอกาสที่เข้ามา การรักษาเงินทุนของเราจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องเลือกเข้าเทรดในจุดที่ใช่และมีการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง และสิ่งที่ต้องรู้ในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน มีด้วยกัน 8 หัวข้อด้วยกัน
1. Correlation
คือ การกระจายความเสี่ยง เราจะไม่เทรดในคู่เงินที่มีแนวโน้มหรือทิศทางไปในทางเดียวกันหลายๆคู่ ยกตัวอย่างคู่ที่มาจากยุโรปด้วยกันอย่าง EURGBP ซึ่ง 2 สกุลนี้อยู่ในตลาดยุโรป ถ้าเราเทรดชนะเราก็จะได้กำไร 2 เท่า แต่ถ้าเกิดว่าเราเทรดแพ้เราก็จะขาดทุนเป็น 2 เท่าเช่นเดียวกัน ซึ่งเราไปสามารถหา Correlation Table จากอินเทอร์เน็ตได้
ถ้าหากคู่สกุลใดมีค่าตั้งแต่ -0.5 ถึง -1 แสดงว่า 2 ตัวนั้นที่กำลังเปรียบเทียบอยู่มีทิศทางในการเดินทางตรงข้ามกัน ส่วนอีกฝั่งนึงตั้งแต่บวก +0.5 ถึง +1 หมายความว่า 2 คู่ที่กำลังเปรียบเทียบกันมีทิศทางแนวโน้มไปในทางเดียวกัน แต่ค่าที่เราต้องการคือ 0 จะบ่งบอกว่าคู่ผลิตภัณฑ์คู่นั้นไม่ได้มี ความเกี่ยวข้องกันเลย ไม่ว่าจะมีแนวโน้มไปทางเดียวกันหรือตรงกันข้ามกัน ซึ่งคู่ผลิตภัณฑ์ที่เราเล่นมีค่า correlation เท่ากับ 0 จะทำให้เราลดความเสี่ยงในการเข้าเทรดได้
2. Recovery Rate
คือโอกาสที่จะกู้พอร์ตให้กลับมาเท่าทุน ซึ่งถ้าเกิดว่าเราเทรดแพ้หลายๆไม้ติดต่อกัน โอกาสที่เราจะสามารถนำเงินกลับมาเท่าทุน จะเริ่มยากเข้าไปเรื่อยๆ
ในตารางจะแสดงถึงเปอร์เซ็นต์ตอนที่เราเสีย คอลัมน์ด้านขวาจะแสดงถึง Recovery Rate หรือว่าเปอร์เซ็นต์ที่คุณจะต้องใช้เพื่อที่จะ Recover หรือดึงพอร์ตคุณกลับมาเท่าทุนอีก จะเห็นได้ว่าถ้าใช้เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงแค่ 1% อัตราที่คุณจะต้องใช้เพื่อจะดึงกลับมาก็คืออีกแค่ 1% เท่านั้นเองแต่ยิ่งคุณใช้เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงมากขึ้นเท่าไหร่คุณจะต้องยิ่งใช้เปอร์เซ็นต์มากขึ้นเท่านั้นในการดึงพอร์ตกลับมาเท่าทุนอีกทีนึง
3. Reward to Risk Ratio (R:R)
คือความคุ้มค่าในการลงทุนแต่ละครั้ง เป็นการคำนวณเปรียบเทียบระหว่างกำไรที่เราจะได้รับมาหารกับผลขาดทุนที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม้นั้นออกมาแพ้
การคำนวณค่า R:R คือเอาระยะกำไรหรือ TP มาหารด้วยระยะขาดทุนหรือระยะ SL
สมมุติว่าคุณตั้ง TP เอาไว้ระยะอยู่ที่ 500 จุดแล้วระยะ SL ของคุณก็อยู่ที่ 500 จุดเช่นเดียวกัน R:R ของคุณก็จะเท่ากับ 1:1 นั่นเอง
4. Win Rate
เปอร์เซ็นโอกาสชนะของแผนการลงทุน ทุกคนต้องเข้าใจว่าเปอร์เซ็นต์ Win rate มีความสำคัญกับเราอย่างไรบ้างและจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณในการช่วยบริหารความเสี่ยงของเราอย่างไร ค่า Win rate จะได้มาจากการเก็บสถิติของคุณด้วยเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งที่คุณใช้อยู่ ซึ่งคำนวณจากจำนวนครั้งที่คุณชนะหารด้วยจำนวนการเทรดทุกไม้ของคุณ
สมมติว่าคุณเทรดทั้งหมด 100 ไม้แล้วคุณชนะไปทั้งหมด 60 ไม้ อัตรา Win rate ของคุณก็จะอยู่ที่ 60% ยิ่งคุณมีไม้มาให้คำนวณค่านี้เยอะเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เปอร์เซ็นต์ Win rate ที่คุณได้ยิ่งมีความแม่นยำมากขึ้น กล่าวคือการคำนวณค่าเปอร์เซ็นต์เป็นเรทจาก 1,000 ไม้ยังไงก็ย่อมมีความแม่นยำมากกว่า 100 ไม้ แล้วตัวค่าเปอร์เซ็นต์ Win rate จะผกผันตรงข้ามกับค่า R:R อย่างเช่นถ้าคุณมี Win rate แค่ 50% แต่คุณมี R:R ที่สูงหรือมีค่าความคุ้มค่าที่สูงคุณก็สามารถทำกำไรอยู่ในตลาดนี้ได้อย่างยั่งยืนได้
5. Expectancy
ค่ากำไรที่เราคาดหวังจากระบบเทรด ซึ่งค่านี้จะบ่งบอกว่าระบบเทรดของคุณที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีโอกาสได้กำไรหรือขาดทุนมากกว่ากัน โดยเราจะต้องเก็บข้อมูลจากสถิติที่เราเทรดจริงหรือว่าจากที่เรา Back Test ก็ได้ในจำนวนที่มากพอเพื่อมาคำนวณหาค่าค่านี้โดยสูตรคำนวณมีดังนี้
สามารถคำนวณค่านี้ได้จากการเอาค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินที่เราได้กำไรมาคูณกับเปอร์เซ็นต์ในการชนะของเราหรือ Win rate แล้วก็เอามาลบกับค่าเฉลี่ยจำนวนเงินที่เราขาดทุนต่อไม้คูณกับเปอร์เซ็นต์ที่เราแพ้หรือ Lost Rate ของเรา ค่านี้ควรจะออกมาเป็นบวกเท่านั้นซึ่งแปลว่าเราได้กำไร ถ้าผลออกมาเป็นลบแปลว่าผลรวมของเรายังขาดทุนอยู่
6. Capital Management
การจัดสรรเงินทุนให้เหมาะสมและถูกต้องต่อความเสี่ยงที่คุณจะใช้ ข้อนี้สำคัญมากเพราะถ้าเราไม่รู้หรือคำนวณไม่เป็น สุดท้ายเมื่อเรามีเงินทุนไม่พอเราก็จะมีโอกาสที่จะล้างพอร์ตได้ในระยะยาว
การคำนวณคือ เราจะต้องเอา minimum ในการออกไม้ อย่างของ XTB อยู่ที่ 0.01 เอาค่านี้มาคูณกับระยะ SL ที่เราจะเข้าเทรดหารด้วยเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยง
สมมุติคุณอยากจะเข้าเทรดด้วยระยะ SL ที่ 500 จุดและใช้ความเสี่ยงที่ 5% คุณจะต้องมีขนาดพอร์ตอย่างน้อยอยู่ที่ 100 เหรียญ แต่ว่าถ้าคุณต้องการที่จะเข้าเทรดที่มีระยะ SL อยู่ที่ 2,000 จุดด้วยเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่ 1% คุณจะต้องมีขนาดพอร์ตอย่างน้อยๆ 2,000 เหรียญ คุณถึงจะสามารถเข้าเทรดได้โดยที่ไม่ได้มีการ Over Trade
7. Risk of Ruin (ROR)
ค่านี้จะใช้ในการคำนวณระบบเทรดว่าต้องใช้ความเสี่ยงเท่าไหร่ ที่จะสามารถปิดโอกาสในการล้างพอร์ต ทฤษฎีนี้จะบอกว่ามีโอกาสขนาดไหนที่จะล้างพอร์ต ซึ่งสูตรนี้จะขึ้นอยู่กับ win rate และ R:R ของเราแล้วก็จำนวนความเสี่ยงที่เราใช้
การที่เราเข้าใจ Risk of ruin และสามารถคำนวณเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่เราจะออกไม้ได้อย่างถูกต้อง ทำให้เราปิดประตูที่จะล้างพอร์ต ถ้าเราทำตามเทคนิคอย่าง 100% ด้วย
ซึ่งค่าของ Risk of ruin (ROR) จะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 หรือบางที่จะบอกว่าจาก 0% ถึง 100% ถ้าคำนวณออกมาแล้วได้ค่าอยู่ที่ 0 หรือ 0% หมายความว่าเราแทบจะไม่มีโอกาสที่จะล้างพอร์ตเลยแต่ในขณะเดียวกันถ้าค่านี้มากกว่า 0 หรือว่ามากกว่า 0% แสดงว่าเรายังมีโอกาสที่จะล้างพอร์ตได้
ตารางนี้ทำการคำนวณค่าด้วยการเทียบระหว่าง win rate กับ R:R เมื่อเราใช้เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่ 2% ในการออกไม้ ก็จะเห็นได้ว่าถ้ามีระบบเทรดที่ R:R อยู่ที่ 0.5 ต่อ 1 ไม้คุณจะต้องมี win rate อยู่อย่างน้อย 80% คุณถึงจะมีค่า Risk of ruin (ROR) อยู่ที่ 0% หรือว่ามีโอกาสล้างพอร์ตอยู่ที่ 0% นั่นเอง แต่ถ้าเผื่อคุณมีระบบเทรดที่มี R:R อยู่ที่ 1:1 คุณมี win rate อยู่แค่ 60% ก็ได้คุณก็ไม่มีโอกาสล้างพอร์ต
8. Position sizing
การออก lot ให้เหมาะสมกับเงินทุน การคำนวณ Position sizing นี้มีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกันแต่จะมาแนะนำ 3 วิธีที่เหมาะกับการเทรด
วิธีที่ 1 เรียกว่า fixed fractional หรือว่าการออกไม้ด้วยเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่เท่ากันทุกไม้ให้เหมาะสมกับขนาดพอร์ตของเรา
เช่น มีพอร์ต 10,000$ 1 เปอร์เซ็น เราจะต้องออกไม้ที่ 100 เหรียญ แต่ในไม้ต่อไปถ้าเราขาดทุนเราจะเหลือเงินต้นแค่ 9,900 เหรียญเท่านั้น 1% ของ 9,900 เหรียญก็คือ 99 เหรียญ คือจำนวนเงินที่เราจะสามารถออกไม้ที่ 2 ได้
ถ้าเผื่อเราแพ้ติดต่อมาหลายๆไม้ จำนวนไม้ที่เราจะออกก็จะเล็กลงไปเรื่อยๆด้วย
ข้อดีก็คือถ้าเกิดเราแพ้ติดต่อกับหลายๆไม้ จำนวนเงินที่เราจะออกไม้จะค่อยๆน้อยลงไปเรื่อยๆทำให้เรามี draw down ที่น้อยลงไปเรื่อยๆและสามารถรักษาพอร์ตของเราได้ดีและในขณะเดียวกันถ้าเผื่อเราชนะติดต่อกันหลายๆไม้ เราจะสามารถออก lot ด้วยขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆทำให้เราได้กำไรทบต้นขึ้นไปอีก
วิธีที่ 2 Fixed sizing คือการออก lot โดยการใช้จำนวนเงินหรือว่าระยะ TP SL เท่ากันทุกไม้ไม่ว่าพอร์ตเราจะโตขึ้นหรือว่าเล็กลง
ข้อดีของการใช้วิธีนี้คือมีความตรงไปตรงมาและคำนวณง่าย เพราะว่าเราจะใช้ระยะ SL หรือว่าระยะการออก สนะ เท่าเดิมเสมอและอัตราการเติบโตของพอร์ตเราจะมีแรงเหวี่ยงที่น้อยกว่า แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือว่าเราจะมี draw down ที่สูงกว่าถ้าเผื่อเรา SL ติดกันหลายๆไม้
วิธีที่ 3 ที่จะมาแนะนำก็คือการเอาข้อดีกับข้อเสียของ 2 วิธีแรกมารวมกันที่เรียกว่า Fixed fractional sizing โดยวิธีนี้จะทำการออก lot ในจำนวนไม้เท่าๆกัน มีการปรับเปลี่ยนการออกไม้ของเราเมื่อพอร์ตเราโตขึ้นหรือว่าเล็กลงถึงค่าที่เรากำหนดไว้เป็นขั้นบันได
ตารางตัวอย่างนี้ก็จะเห็นได้ว่าเมื่อขนาดพอร์ตเราอยู่ที่ระหว่าง 8,000-8,500 เหรียญ เราสามารถที่จะกำหนดจำนวนการออกไม้ของเราที่ 80 เหรียญเอาไว้ได้และค่อยเพิ่มขึ้นไปเมื่อพอร์ตเราโตขึ้นไปถึง 8,500 เหรียญถึง 9,000 เหรียญ การใช้วิธีนี้จะทำให้เรามีการออก lot ที่มีการคำนวณที่ง่ายและพอร์ตเราจะไม่มีการเหวี่ยงมากเมื่อแพ้หรือชนะสลับไปมา แล้วก็จะยังได้ประโยชน์ของการได้กำไรทบต้นเมื่อพอร์ตเราชนะติดต่อกันหลายครั้ง มี draw down ที่น้อยกว่าเมื่อเราแพ้ติดต่อมาหลายไม้
คลิปอธิบาย Money Management อย่างละเอียดโดยโค้ชโอ๊ตพร้อมยกตัวอย่าง
ทั้งหมดคือ 8 หัวข้อเกี่ยวกับการบริหารและควบคุมความเสี่ยงในการเทรดที่อยากให้ทุกคนนำความรู้ที่ได้ในไปศึกษาเพิ่มเติมและทดลองดูว่าวิธีไหนเหมาะกับเรามากที่สุด ลองดูข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปและนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระบบเทรดของแต่ละคน เพราะเรื่องนี้สำคัญมากๆ ถ้าเราสามารถบริหารเงินทุนได้อย่างถูกต้องสามารถควบคุมความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำสุดท้ายจะทำให้เราสามารถเป็นเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน
สนใจคอร์สเรียน สัมมนาฟรี และข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่
Facebook: Bravo Trade Academy Global
YouTube: Bravo Trade Academy
Line@: BravoTradeAcademy
Instagram: Bravotradeacademy
TikTok: @bravo_tradeacademy
Twitter: Toeybravo
Website: www.bravotradeacademy.com