Fibonacci คืออะไร?
เครื่องมือฟิโบนักชีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเกิดจากค่าลำดับฟิโบนักชีซึ่งถูกค้นพบโดย Leonardo Pisano Fibonacci เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี โดยเขาได้เอาตัวเลขเริ่มมาตั้งแต่ 0 กับ 1 เอามาบวกกันแล้วก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆเอา 2 ตัวเลขข้างหน้ามาบวกกันแล้วก็เอาผลลัพธ์มาต่อผลลัพธ์มาต่อกันไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นลำดับตัวเลขฟิโบนักชีขึ้นมา โดยตัวเลขจะมีตั้งแต่เลข 0 1 2 3 5 8 13 21,…
ความมหัศจรรย์ของตัวเลข Fibonacci อยู่ตรงที่ไม่ว่าเราจะเอาตัวเลขในลำดับมาบวกลบคูณหารก็ตาม จะได้ค่าเดิมเสมอ
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเอาตัวเลขข้างหน้ามาหารตัวเลขด้านหลัง จะได้ 0.618 เสมอ
ถ้าเอาตัวเลขข้างหลังมาหารตัวเลขด้านหน้า จะได้ 1.618 เสมอ
ถ้าเอาตัวเลขหน้า 2 ตำแหน่งมาหารกับตัวเลขหลังอย่าง จะได้ 0.382 เสมอ
ตัวเลขเหล่านี้ที่อยู่ในเครื่องมือ Fibo ของเรานั่นเอง
นอกเหนือจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติต่างๆก็มีลำดับฟิโบนักชีเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นเปลือกหอย, วงของเกสรดอกไม้, สัดส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของข้อนิ้วมือของเราหรือว่าสัดส่วนใบหู ถ้าเป็นสัดส่วนที่สวยงามงดงามที่สุดจะต้องเป็นสัดส่วนที่เป็นไปตามลำดับของฟิโบนักชี หรือแม้กระทั่งการเรียงตัวกันของดวงดาวในกาแล็กซี่ก็ยังเป็นลำดับของ Fibonacci หมือนกัน จิตรกรหรือว่านักศิลปะต่างๆก็นำเอาลำดับ Fibonacci ไปใช้ในการออกแบบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมต่างๆ หรือจิตรกรรมต่างๆที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น พีรามิด, ทัชมาฮาล ก็ใช้ลำดับของ Fibonacci เช่นเดียวกัน
ทำไมต้องใช้ Fibonacci ในการเทรด
สำหรับการเทรดเราจะใช้ลำดับฟีโบนักชีในการวัดระดับราคาที่มีนัยสำคัญที่กราฟมักจะมาทดสอบ มาติดหรือมาเด้งบ่อยๆนั่นเอง ซึ่งนักลงทุนก็จะใช้ค่าลำดับเหล่านี้ในการหาจุดเข้าเทรด ใช้สำหรับการทำกำไรหาจุด TP หาจุด SL ได้นั่นเอง คีย์สำคัญก็คือกลุ่มนักลงทุนใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารระดับโลก หรือเฮดฟันต่างๆ ก็ใช้ลำดับของฟิโบนักชีในการเทรดเหมือนกัน โดยการเทรดแบบ demand supply ในตลาดจะมีรายใหญ่คอยคุมตลาดอยู่ ในเมื่อรายใหญ่ที่คอนโทรลตลาดใช้ฟิโบนักชีในการเทรด เพราะฉะนั้นเลยเป็นที่มาของการที่เราใช้ฟีโบนักชีในการหาระดับที่สำคัญของราคานั่นเอง
Fibonacci มีกี่ชนิด?
Fibonacci มีหลายชนิดมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Fibonacci Extension, Fibonacci projection, Fibonacci Expansion, Fibonacci Retracement แต่ในวันนี้จะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จัก 3 ชนิดที่ Bravo Trade Academy ใช้บ่อยมากๆ แค่ 3 ชนิดนี้ก็เพียงพอสำหรับการเทรดแล้ว มาเริ่มกันเลย
- Fibonacci Retracement
ใช้ในการวัดระยะการย่อหรือเด้งของกราฟ ถ้ากราฟเป็นเทรนขาขึ้นแล้วจะใช้ในการวัดการย่อลงมาของกราฟ แต่ถ้าราคาเป็นขาลงมาจะใช้ในการวัดการเด้งของกราฟว่ามีโอกาสที่จะได้ไปถึงจุดไหนเพื่อลงต่อ ใช้หาจุดนัยสำคัญที่กราฟมีโอกาสไปถึงแล้วกลับตัวเพื่อจับจังหวะการซื้อขาย ซึ่งสัดส่วน Fibonacci Retracement จะเริ่มตั้งแต่ 0% ถึง 100%
วิธีการกาง Fibonacci Retracement ให้กางจากจุด A ไปยังจุด B เพื่อหา C โดยกางจากซ้ายไปขวาเสมอ
จากภาพตัวอย่าง ในเทรนขาขึ้นเราจะใช้ Retracement ในการวัดจากจุด A ไปยังจุด B เพื่อหาจุด C ว่าราคาสามารถย่อลงมาถึงสัดส่วนที่เท่าไหร่ ในตัวอย่างราคาย่อลงมาถึงค่า ฟิโบที่ 78.6%
ส่วนในเทรนขาลงเราจะใช้ Retracement ในการวัดจากจุด A ไปยังจุด B เพื่อหาจุด C ว่าราคาเด้งไปที่ค่าฟิโบที่เท่าไหร่
ส่วนวิธีการใช้ในการหาจุดเข้าเทรดเราจะพูดถึงในลำดับถัดไป - Fibonacci Extension
ใช้เพื่อวัดว่าราคาสามารถที่จะยืดออกไปได้ไกลแค่ไหนที่สัดส่วนเท่าไหร่ ซึ่งค่า Fibonacci Extension มีค่าตั้งแต่ 100% ขึ้นไป ( 113.6, 127.2, 141.4, 161.8, 200, 261.8%) หรืออาจจะยืดไปมากกว่านี้ก็ได้
สำหรับการเลือกเครื่องมือในแพลตฟอร์มต่างๆอาจจะไม่เจอคำว่า Fibonacci Extension อาจจะเจอเครื่องมือที่มีชื่อว่า Fibonacci Retracement จริงๆแล้วคือเครื่องมือเดียวกัน ต่างกันที่ตัวเลขของฟิโบ ถ้าเป็น 0-100 คือช่วงของ Fibonacci Retracement ตั้งแต่ค่า 100 ขึ้นไปเราเรียกว่า Extension นั่นเอง
วิธีการกาง Fibonacci Extension ให้กางจากจุด B ไปยังจุด C เพื่อหา D เพื่อวัดว่าระยะยืดเวลาที่กราฟทำ New High หรือ New Low นั้นมีโอกาสไปถึงค่า Fibo Extension ที่เท่าไหร่ได้บ้าง โดยกางจากซ้ายไปขวาเสมอ - Fibonacci Projection
ใช้ดูการเคลื่อนไหวของราคาหลังจากที่ราคาย่อตัวในเทรนขาขึ้น หรือเด้งขึ้นในเทรนขาลง เพื่อจะดูว่าราคามีโอกาสไปต่อถึงเป้าหรือโซนแนวรับ/แนวต้านไหน โดยสังเกตจุดนัยสำคัญที่ราคามักมาใช้บ่อยๆ เช่น ค่าฟิโบ 100, 161.8 เป็นต้น สำหรับฟิโบนักชีชนิดนี้ อาจจะไม่ค่อยได้หยิบมาใช้สักเท่าไหร่ จะใช้บ่อยเวลาที่เราวิเคราะห์ Elliott Wave
โดยแต่ละแพลตฟอร์มอาจจะมีชื่อเรียกเครื่องมือแตกต่างกันออกไป เช่น Fibonacci Expansion, Fibonacci Projection, Trend Based Fibonacci Extension จริงๆแล้วคือตัวเดียวกันทั้งหมด มีค่าตั้งแต่ 61.8 จนถึงมากกว่า 100 ขึ้นไป
การใช้ Fibonacci Projection เราจะต้องใช้เครื่องมือที่เฉพาะเจาะจงและมีการกางถึง 3 จุดโดยเรากางจาก A ไป B แล้ว Project มาที่ C เพื่อหาจุด D ที่กราฟมีโอกาสไปถึงนั่นเอง
ตัวอย่างกราฟจริงเริ่มตั้งแต่นาทีที่ 20:00
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Fibonacci ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น และใช้เทรดได้จริง สามารถที่จะเข้ามาเรียนรู้ได้ในสัมมนา “สูตรลับจับทริค FIBONACCI” โดยอาจารย์ซิ่งจะสอนตั้งแต่การเลือกสวิงในการตีฟิโบ, การใช้ Fibonacci Retracement เพื่อหาจุดย่อ, การใช้ Fibonacci Extension เพื่อหาจุดยืด, การเลือกโซนในการเข้าเทรด, การตีกรอบราคาหรือว่า Channel และอื่นๆอีกมากมาย เป็นFree seminarไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงทำคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดก็สามารถเข้าห้องเรียนได้เลย
การหาจุดเข้าเทรดแบบ “ปลายไส้” ด้วย Fibonacci
หลังจากที่ได้รู้จัก Fibonacci ชนิดต่างๆว่าใช้เพื่อทำอะไรแล้ว เรามาดูการใช้หาจุดเข้าเทรด รวมถึงการหาจุด TP หรือว่าจุดทำกำไร Take Profit นั่นเอง ซึ่งจริงๆแล้วเทคนิคที่เราใช้ในการหาจุดเข้าเทรดนั้นมีเยอะแยะมากมาย แต่สำหรับ Bravo Trade Academy เราใช้เทคนิค Demand Supply เป็นหลัก ถ้าเราเห็นว่าตอนนี้เป็นเทรนขาขึ้นหรือจุดไหนที่มี Demand Zone นั่นคือมีความต้องการซื้อ พอราคาลงมาในโซนเมื่อไหร่เราจะหาจังหวะในการ Buy แต่ถ้าเป็นเทรนขาลงหรือ Supply Zone ถ้าราคากลับเข้าไปใน Supply Zone เมื่อไหร่เราจะหาจังหวะในการเทรด Sell
พอเรารู้แล้วว่าต้อง Buy ใน Demand และ Sell ใน Supply แต่กรอบโซนกว้างมากจะทำยังไงดี? เวลาที่เราจะเข้าเทรดเมื่อราคามาถึงกรอบโซนตั้งแต่ขอบบนจนถึงขอบล่าง ถ้าเป็นโซนที่อยู่ใน Timeframe ใหญ่ อย่างเช่น โซนใน Day กรอบอาจจะกว้างถึง 800-1000 จุดได้เลย ถ้าเกิดว่าเราไม่รู้ว่าเราจะเข้าเทรดตรงไหนเราอาจจะเสียเปรียบหรือว่าต้องวาง SL ค่อนข้างไกลนั่นเอง แต่ถ้าเราใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Fibonacci จะช่วยให้เราสามารถหาจุดเข้าเทรดแบบปลายไส้ได้นั่นเองโดยจะยกตัวอย่างเทคนิคที่เราใช้กันบ่อยๆแล้วก็ Win rate ค่อนข้างดีที่ทุกคนสามารถนำไปใช้เทรดได้จริงแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน โดยจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ
- การเข้าเทรดด้วย QM Zone
- การใช้ Fibonacci Extension หาจุดเข้าเทรด
- การใช้ Fibonacci หาจุด Take Profit
1. การเข้าเทรดด้วย QM Zone
มาเริ่มกันที่แบบแรกก็คือการหาจุด QM Zone ด้วย Fibonacci Retracement โดย QM จะเกิดจังหวะที่กราฟกำลังจะกลับตัว ถ้ากราฟจะกลับตัวจากขาขึ้นเป็นลงสังเกตง่ายๆคือราคาเริ่มทำ low ที่ต่ำกว่า low ก่อนหน้าเมื่อไหร่ ให้ เอา Fibonacci Retracement มากางเลยโดยกางจาก A ไป B เพื่อหา C และจุด C คือจุดที่เราจะใช้ Sell โดยโซน QM จะอยู่ตั้งแต่ค่า Fibo 61.8 จนถึง 78.6 ถ้าเกิดว่าราคาย้อนกลับเข้ามาในโซนนี้เมื่อไหร่เราเข้าเทรด Sell ได้เลย และระยะ SL ที่มีเหตุผลมากที่สุดเราควรจะต้องวางไว้เหนือสวิง High ล่าสุด ก็คือไว้เหนือจุด A นั่นเอง อันนี้คือ Sell Setup
ในส่วนของ Buy Setup ถ้ากราฟจะกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น เมื่อกราฟเริ่มทำ High ชนะ High ก่อนหน้าได้เมื่อไหร่เราเอา Fibonacci Retracement มากางเหมือนเดิมซ้ายไปขวาจากจุด A ไป B แล้วรอ Buy เมื่อราคาย้อนเข้ามาที่ค่าฟิโบ 61.8 ถึง 78.6 ส่วนระยะ SL ที่มีเหตุผลมากที่สุดคือวางต่ำกว่า Swing Low ล่าสุดหรือต่ำกว่าจุด A นั่นเอง
ข้อควรระวังของ QM ก็คือ ถ้าเป็น QM ตามเทรนใหญ่ Win Rate จะดี แต่ถ้าเป็น QM สวนเทรนใหญ่เมื่อไหร่ต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้นเพราะว่าเราอาจจะเจอ QM แบบยกมือก็ได้ คือย่อและ Action นิดนึงและยกตัวขึ้นไปต่อ เพราะฉะนั้นต้องเช็คก่อนว่า QM ที่เรากำลังจะเทรดเป็น QM แบบตามเทรนใหญ่หรือเป็น QM ที่สวนเทรน
ตัวอย่าง ของการเข้าเทรดด้วย QM ภาพบนคือตัวอย่างของ Sell Setup เมื่อราคาทำ low ที่ต่ำกว่า low ก่อนหน้า ให้กางฟิโบหาจุด C เพื่อเทรด Sell เมื่อราคา Action แล้วก็กลับมาเป็นแทนขาลงเรียบร้อย
ส่วนภาพข้างล่างเป็น Buy Setup จะเห็นว่าเมื่อราคาทำ High ชนะ High ก่อนหน้าให้กาง Fibonacci Retracement จาก A ไป B เพื่อหาจุด C ที่กรอบ 61.8 ถึง 78.6 โดยวาง SL ไว้ใต้ Swing Low ล่าสุดหรือว่าใต้จุด A จากนั้นจะเห็นว่าราคาปรับตัวขึ้นต่อเปลี่ยนเทรนเป็นขาขึ้นเรียบร้อย
2. การใช้ Fibonacci Extension ในการหาจุดเข้าเทรด
การใช้ Fibonacci Extension ในการเข้าเทรดต้องดูด้วยว่าจุดที่เราจะเข้าเทรดนั้นมีโซนหรือเปล่า จุดที่เราจะ Sell มี Supply Zone หรือมีแนวต้านที่แข็งแรงมั้ย ส่วนจุดที่เราจะ Buy ต้องมี Demand Zone ด้วยเพราะถ้าไม่มีโซนราคาอาจจะเด้งแล้วลงต่อได้
สำหรับ Sell Setup จากตัวอย่างจะเป็นการเทรดตามเทรน โดยกราฟมีการยก high ยก low ขึ้นมาใน timeframe เล็ก แต่ใน timeframe ใหญ่ยังคงเป็นเทรนขาลงที่ราคาได้มีการสร้าง Supply Zone เอาไว้ เราจะเห็นภาพแบบในตัวอย่างเมื่อราคาค่อยๆเดินทางกลับขึ้นมามาที่โซน เราจะหาจังหวะเทรด Sell โดยกาง Fibonacci Extension จาก B ไป C เพื่อหา D ว่ามีโอกาสที่จะยืดไปถึงเท่าไหร่ ซึ่งค่าที่ใช้บ่อยสุดๆเลยก็คือค่า 127.2 ถึง 161.8 เราจะใช้เป็นกรอบ Sell ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องอยู่ในกรอบ Supply ใน timeframe ใหญ่ด้วย และวาง SL ไว้บริเวณเหนือโซน
สำหรับ Buy Setup เราจะรอให้กราฟทำ high และ low ต่ำลงมาเข้าใกล้ Demand Zone แล้วหาจุดในการเข้าเทรด Buy ที่กรอบ 127.2 ถึง 161.8 เช่นกัน
”การเข้าเทรดด้วย Fibonacci Extension เราจะใช้เวลาที่ราคาทำ New High เพื่อ Sell และใช้เมื่อราคาลงทำ New Low เพื่อ Buy และควรเทรดตามเทรน”
3. การใช้ Fibonacci หาจุด Take Profit
หลังจากที่หาจุดเข้าเทรดเป็นแล้ว เรามาใช้ Fibo ช่วยหาจุด Take Profit กัน ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือการใช้ Fibonacci Extension นั่นเอง
ลองดูภาพตัวอย่างฝั่งซ้ายมือ สมมุติว่าตรงจุด C เป็น QM Buy ที่เราเข้าเทรดมา แต่ไม่รู้ว่าจะทำกำไรตรงไหนดี เราจะใช้ Fibonacci Extension ช่วยโดยกางจาก B ไป C เพื่อหาจุด D ที่เราจะเก็บกำไร ทำให้เราสามารถถือออเดอร์ได้ยาว
ส่วนภาพทางขวามือ Sell Setup ถ้าเราถือออเดอร์ Sell มาแล้วราคากำลังจะลงทำ New low ให้ใช้ Fibonacci Extension กางหาจุด Take Profit เราจะใช้ก็ตั้งแต่ค่าฟิโบ 127 เป็นต้นไป ซึ่งค่าที่ราคามาเทสบ่อยๆ ก็จะมี 127, 161, 200 โดยเราสามารถแบ่งไม้เก็บกำไรตามค่าฟิโบต่างๆได้เลย
พาดูตัวอย่างกราฟจริงตั้งแต่นาทีที่ 18:35
สนใจคอร์สเรียน สัมมนาฟรี และข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่
Facebook: Bravo Trade Academy Global
Twitter: Toeybravo
Instagram: Bravotradeacademy
TikTok: @bravo_tradeacademy
Line@: BravoTradeAcademy
Website: www.bravotradeacademy.com