มาดูกันว่า Demand Supply ที่รายใหญ่เข้าเทรดกันนั้นเขาเล่นกันยังไง ?
ก่อนที่จะไปรู้จักกับการเทรดแบบ Demand Supply อยากให้ทุกคนเข้าใจและมีแนวคิดเหมือนกับผู้เล่นรายใหญ่ก่อน เวลาที่ผู้เล่นรายใหญ่เข้าเทรด เค้าจะรอซื้อในจุดที่ใช่เท่านั้น! หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ซื้อถูกขายแพง” ในความเป็นจริงทุกๆตลาดจะมีรายใหญ่ที่คุมตลาดอยู่ คอยควบคุมราคาด้วยเงินทุนมหาศาล อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจและนโยบายทางการเงินต่างๆล้วนแต่มีผลกระทบ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่ารายใหญ่จะดันราคาไปทางไหน แต่ทุกอย่างแสดงออกมาทางแท่งเทียน และแพทเทิร์นของกราฟทั้งหมดแล้ว คอนเซปของเทคนิค Demand Supply อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ คือ เมื่อรายใหญ่เข้าเทรดแต่ละครั้ง แน่นอนว่าจำนวนออเดอร์มากมายมหาศาล เมื่อเรามองภาพเดียวกันกับรายใหญ่จะทำให้เราได้เข้าเทรดในจุดเดียวกับรายใหญ่นั่นเอง วันนี้เรามีเทคนิคการเข้าเทรดด้วย Demand & Supply มาฝาก ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
Demand Supply คืออะไร ?
Demand คือ จุดที่มีความต้องการซื้อ เป็นจุดที่รายใหญ่มองว่าต้องการจะซื้อ จะสังเกตเห็นว่าพอราคามาถึงจะมีการเด้ง เมื่อมีการเข้าซื้อจะเห็นเป็นแท่งเทียนสีเขียวใหญ่ยาว ตรงจุดนี้ที่เราเรียกว่าเป็น Demand หรือว่าจุดรายใหญ่เข้าซื้อนั่นเอง
Supply คือ จุดที่มีความต้องการขาย จะสังเกตเห็นว่าพอราคาไปถึงจุดที่ต้องการขายเราจะเห็นแท่งเทียนสีแดงใหญ่ยาวเนื้อแน่นแดง เกิดจากมีออเดอร์ Sell เป็นจำนวนมากนั่นเอง
Demand Supply Zone 4 Patterns
ก่อนที่เราจะไปดูรูปแบบที่เป็นแท่งเทียน เรามาดูพฤติกรรมกันก่อน มาทำความรู้จักกับ Demand Supply Zone ทั้ง 4 แพทเทิร์นกัน
Demand Zone 2 patterns
- Drop Base Rally (DBR) คือ ราคาปรับตัวลงมา พักตัวเป็นกลุ่ม Base และมีแรงซื้อดันราคาขึ้นไป เป็น pattern ที่บ่งบอกว่ากราฟอาจจะมีการกลับตัว (Reversal Pattern)
- Rally Base Rally (RBR) คือราคามีการปรับตัวขึ้น พักตัวเป็นกลุ่ม Base แล้วดันราคาขึ้นต่อ เป็น pattern ที่บ่งบอกว่ากราฟมีโอกาสที่จะไปต่อหรือกราฟเริ่มมีเทรนแล้ว
Supply Zone 2 patterns
- Rally Base Drop (RBD) คือ ราคาวิ่งขึ้นมา จากนั้นพักตัวเป็นกลุ่ม Base แล้วมีแรงขายดันราคาลงไป เป็น pattern ที่บ่งบอกว่ากราฟอาจจะมีการกลับตัว (Reversal Pattern)
- Drop Base Drop (DBD) คือ มีการดันราคาลงไป พักตัวเป็นกลุ่ม Base แล้วมีแรงขายดันราคาลงต่อ ราคาเป็น pattern ที่บ่งบอกว่ากราฟมีโอกาสที่จะลงต่อ
การเข้าเทรดด้วย Demand Supply
การเทรด Demand Zone
มาดูกันว่าเราจะเทรดด้วย Pattern ทั้งหมดนี้ยังไงใน เริ่มที่ Demand Zone กันก่อน
จากภาพนี้ Demand Zone ถ้าหากว่าเป็น Drop Base Rally (DBR) ฝั่งซ้ายมือจะต้องเป็นเทรนขาลงมาก่อนหรือมีรูปแบบการลงมาของราคาแบบในภาพ หลังจากนั้นราคามีการพักตัวหรือที่เราเรียกว่า Base แล้วราคาก็พุ่งแรลลี่ขึ้นไป เราจะได้รูปแบบแพทเทิร์น DBR เมื่อราคาสร้างพฤติกรรมแบบนี้ สิ่งที่เราจะได้คือ Demand Zone คือมี Demand พุ่งออกจากกลุ่ม Base หรือกลุ่มที่ราคาพักตัวขึ้นไปนั่นเอง
สิ่งที่ต้องสังเกตคือ ตอนที่ราคาแรลลี่ขึ้นไปแท่งเทียนมีพฤติกรรมใหญ่ ยาว เนื้อแน่นหรือเปล่า ถ้าใช่หมายความว่าตรงจุดนี้ถ้าราคากลับแล้วมีพฤติกรรมอะไรบางอย่าง เช่น Divergence หรือ แท่งเทียนกลับตัว อาจจะเป็นจุดที่เราจะพิจารณาเข้า Buy นั่นเอง
ยกตัวอย่างว่าราคากลับมาที่ตรงจุดนี้ที่เรามองว่าเป็น Demand zone ของ DBR ราคามีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปต่อ หรือถ้าหากว่าราคาไม่มี Demand ในจุดนี้ราคาอาจจะหลุดโซนตรงนี้ลงไป ถ้าหากว่าพิจารณาเข้า Buy ตรงนี้ Stop Loss จะต้องอยู่ใต้กรอบหรือใต้โซนนี้เสมอ แต่ถ้าหากว่าราคายังไม่ลงไปชน SL ไม่หลุด Demand โซนนี้ ราคาก็จะเด้งขึ้นไปต่อและมีโอกาสที่ราคาอาจจะเป็นเทรนเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น เราก็จะเจอรูปแบบที่เราเรียกว่า Rally Base Rally (RBR) ตรงจุดนี้เมื่อเราได้ Demand Zone แล้วเราจะรอให้ราคากลับมาที่ Demand นี้แล้วพิจารณา Buy เช่นเดียวกัน โดยวาง SL อยู่ใต้โซนเช่นเดียวกัน
การเทรด Supply Zone
มาดูในส่วนของ Supply บ้าง มี 2 Pattern เช่นเดียวกัน โดยเราจะเจอ Rally Base Drop (RBD) เป็นรูปแบบการกลับตัวจากขึ้นเป็นลง ตามด้วย Drop Base Drop (DBD) เราจะเจอในกรณีที่ราคากำลังเป็นเทรนขาลงหรือกำลังจะลงต่อนั่นเอง
จากภาพนี้ทางซ้ายราคาเป็นเทรนขาขึ้นมาก่อน จากนั้นมีการพักตัว โดยราคามีโอกาสที่จะแรลลี่ขึ้นต่อได้ แต่ถ้าราคาขึ้นต่อไม่ไหวสิ่งที่เราจะเห็นก็คือราคาจะ Drop ลงมา เกิดเป็นแพทเทิร์น RBD ตรงนี้เราจะได้กรอบที่เป็น Supply Zone การเข้าเทรดในจุดนี้คือเราจะรอให้ราคากลับขึ้นไปเทสที่โซนเพื่อเทรด Sell ลงมา สิ่งสำคัญที่เราจะต้องเช็คตรงจุดที่มี Supply ต้องเช็คว่าแท่งเทียนตอนที่ราคาหลุดออกจากกลุ่ม Base แบบมีความแข็งแรงหรือเปล่าโดยแท่งเทียนต้องมีสีแดงใหญ่ยาวเนื้อแน่น
เมื่อราคากลับขึ้นไปเทสที่ Supply Zone เราจะพิจารณาว่าจะเข้าเทรดตรงนี้หรือเปล่า โดยเราจะเช็คในเรื่องของพฤติกรรมการกลับตัวอย่าง Divergence หรือว่าแท่งเทียนการกลับตัวนั่นเอง ถ้ามีก็สามารถพิจารณาเข้าเทรด Sell ในจุดนี้ได้ โดยการวาง stop loss จะอยู่บริเวณเหนือกรอบโซนนั่นเอง
หากราคามีการปรับตัวลงมา รูปแบบของการเดินทางตามเทรนขาลงหรือราคาเริ่มจะเป็นขาลงแล้ว เราจะเริ่มเห็น Pattern ที่เรียกว่า Drop Base Drop (DBD) ซึ่งวิธีในการเทรดเหมือนเดิมเลย คือเราจะรอให้ราคากลับขึ้นมาเทสที่โซนเพื่อ Sell ลงไปหากว่ามีพฤติกรรมการปรับตัว การวาง SL อยู่เหนือโซนเหมือนเดิม
ภาพรวมการเข้าเทรด Demand Supply
มาดูตัวอย่างกราฟจริงตั้งแต่นาทีที่ 9:38
ทำไมต้องเทรดด้วย Demand Supply ?
- การเทรดฝั่งเดียวกับรายใหญ่ เช่น กองทุนใหญ่หรือธนาคารระดับโลกมี Winrate ที่สูงกว่า เมื่อรายใหญ่ เทขายทำกำไรจะเกิดเป็น Supply Zone สิ่งที่เราต้องทำ คือ รอให้ราคากลับเข้ามาที่โซนอีกครั้ง เช็ค Price Action แล้วเปิดออเดอร์ Sell
ในทางกลับกันเมื่อรายใหญ่ เข้าซื้อก็จะเกิดเป็น Demand Zone ให้เราเห็น สิ่งที่เราต้องทำ คือ รอให้ราคากลับเข้ามาที่โซนอีกครั้งเช็ค Price Action แล้วเปิดออเดอร์ Buy - วางแผนเทรดได้ง่าย จุดเข้า/จุดออกชัดเจน
เมื่อรายใหญ่ทิ้งร่องรอยให้เราเห็นเป็นกรอบโซนที่ชัดเจน เมื่อราคากลับเข้ามาในโซน ก็สามารถพิจารณาเข้าเทรดได้เลย และวางจุด Stop loss ไว้เหนือกรอบ Supply zone หรือวางไว้ใต้กรอบ Demand zone นั่นเอง แต่หากราคาสามารถทะลุกรอบโซนขึ้นมาชน SL ได้ เราก็จะยอมไปก่อนและวางแผนเทรดใหม่ - Risk:Reward สูง
เนื่องจากเราสามารถเข้าเทรดในจุดที่แม่นยำตามรายใหญ่ ระยะ Stop loss จึงสั้น และเก็บระยะทำกำไรได้ยาวกว่า
การตีกรอบ Demand Supply Zone
ด้วยเทคนิค Demand Supply เราจะรอเข้าเทรด Buy ในโซน Demand และวาง Stop loss ที่ใต้กรอบและรอเทรด Sell ใน Supply และวาง Stop loss ที่เหนือกรอบโซน การตีกรอบโซนจึงมีความสำคัญมากเพราะมีผลกับจุดที่เข้าเทรดและการวาง Stop loss หากเราตีกรอบโซนคลาดเคลื่อนและวาง SL ไม่เหมาะสม อาจเจอเหตุการณ์กราฟมาชน SL ก่อนจะไปต่อตามแผนนั่นเอง มาดูวิธีตีโซนที่ถูกต้องกันเลย
การตีกรอบ Demand Zone
ขอบบน = ตีประชิดเนื้อเทียนที่เป็น Base แท่งสุดท้ายก่อนแท่ง Imbalance หรือว่าแท่งที่ใหญ่ยาวเนื้อแน่นหลุดออกจากกลุ่มโซน
ขอบล่าง = ไส้เทียนที่ต่ำที่สุดของกลุ่ม Base ตรงนี้สำคัญมากๆ เพราะว่าเราจะเอาไว้วาง Stop loss บริเวณใต้โซน
การตีกรอบ Supply Zone
ขอบบน = ไส้เทียนที่สูงที่สุดของกลุ่ม Base เพื่อใช้ในการวาง Stop loss บริเวณเหนือโซน
ขอบล่าง = ตีประชิดเนื้อที่ Base แสงสุดท้ายก่อนแท่ง Imbalance หรือว่าแท่งที่ใหญ่ยาวเนื้อแน่นหลุดออกจากกลุ่มพักตัว
ตัวอย่างการตีกรอบโซนจากกราฟจริงเริ่มตั้งแต่นาทีที่ 4:15
การเช็คความแข็งแรงของโซน
เมื่อเจอโซนแล้ว เราจะมีวิธีสังเกตยังไงว่าโซนไหนสามารถเข้าเทรดได้? นั่นคือเหตุผลที่ต้องเช็คความแข็งแรงของโซนเป็นเพราะว่าหากเราเข้าเทรดในโซนที่ไม่แข็งแรง อาจทำให้เกิดความเสียหายกับพอร์ตหรือชน SL บ่อย หรือในกรณีที่เราเจอโซนหลายโซนอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เราจะเลือกเทรดในโซนที่มีความแข็งแรงมากที่สุดนั่นเอง
สิ่งที่เราต้องเช็คความแข็งแรงของโซน มี 3 ข้อก็คือ
- แท่ง Imbalance จะต้องใหญ่ ยาว เนื้อแน่น
แสดงว่า zone นั้นมีแรงซื้อ/ขายมาก แสดงว่ามีรายใหญ่เคยเข้า โดยเราสามารถใช้จุดนี้ในการปิดทำกำไร หรือใช้เป็นจุดที่เข้าเทรดก็ได้ - กลุ่ม Base จะต้องพักตัวไม่เกิน 6 แท่ง
ถ้ามีเบสมากกว่า 6 แท่งบ่งบอกถึงการพักตัวนานเกินไป ตัดสินใจนานเกินไป อาจจะทำให้ตรงจุดนี้ไม่มีการเข้าซื้อขายที่เป็นแบบของรายใหญ่จริงๆ ทำให้เกิดความอ่อนแอในกลุ่มเบส นั้นดังนั้นถ้าหากว่าเราเห็นว่ามีการพักตัวมากเกินไปแบบนี้ให้ระวังว่าโซนนี้อาจจะไม่แข็งแรง - เป็นโซนที่ยังไม่เคยทดสอบใช้มาก่อน
ทุกคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า zone ยิ่งใช้ยิ่งอ่อนแอ หมายความว่าถ้าโซนนี้เคยถูกใช้ไปแล้วหลายครั้ง เราจะไม่ค่อยพิจารณาเข้าเทรด ครรจะเน้นหาโซนที่ยังไม่เคยถูกใช้มาก่อน หรือว่าเป็นโซนที่พึ่งเกิดใหม่ๆ มักจะเข้าเทรดเพื่อใช้โซนนั้นครั้งแรกเสมอ ซึ่งจากสถิติของการใช้โซนครั้งแรกมีโอกาสชนะมากกว่าการใช้โซนในจุดที่เคยสัมผัสมาก่อน
ตัวอย่างการเข้าเทรดโซนที่แข็งแรงและไม่แข็งแรง
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทรดโดยใช้ Demand Supply สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ในสัมมนาฟรี “เทคนิคเทรด Demand Supply ท่าไม้ตาย 1,000 ล้าน” โดยอาจารย์เต้ยสอนให้เข้าใจตั้งแต่หลักการทำงานของ demand supply, การหาจุดเข้าเทรดอย่างถูกต้อง และเทคนิคลับทำกำไรที่ใช้ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ เป็นFree seminarไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงทำคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดก็สามารถเข้าห้องเรียนได้เลย
สนใจคอร์สเรียน สัมมนาฟรี และข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่
Facebook: Bravo Trade Academy Global
Twitter: Toeybravo
Instagram: Bravotradeacademy
TikTok: @bravo_tradeacademy
Line@: BravoTradeAcademy
Website: www.bravotradeacademy.com