นี่คือคู่มือสำหรับการซื้อขายอุปสงค์และอุปทาน ในบทความนี้จะขออธิบายให้เข้าใจว่าการใช้อุปสงค์และอุปทานเพื่อรับรายการ SNIPER เมื่อทำการเทรดในตลาด Forex ได้อย่างไร นี่เป็นกลยุทธ์การซื้อขายที่เรียบง่าย แต่หลาย ๆ คนพยายามที่จะทำให้มันซับซ้อนเกินไป เราจะอธิบายให้คุณเห็นว่าสามารถค้นหาโซนอุปสงค์และอุปทานได้อย่างไร และทำอย่างไรจึงจะได้รายการที่สมบูรณ์แบบจากโซนเหล่านั้น เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจว่าโซนอุปสงค์และอุปทานคืออะไร มีรูปแบบอย่างไร และอะไรที่ทำให้ใช้ได้ ไปดูกันเลย
จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือ Demand Supply Zone?
หลักโดยทั่วไปก็คล้าย ๆ กับการวิเคราะห์กราฟด้วยแนวรับแนวต้าน ซึ่งเราได้เคยอธิบายเกี่ยวกับแนวรับแนวต้านไว้แล้วในบทความแนวรับ แนวต้าน คืออะไร แต่ว่า Demand Supply Zone นั้นอาจจะมีความแตกต่างกับแนวรับแนวต้านตรงที่มี Volume ที่แตกต่างกัน
Supply Zone คืออะไร?
Supply Zone คือ โซนที่ราคามาถึงแล้วจะถูกต้านเอาไว้ Supply Zone คือโซนที่มีแรงขายจะอยู่ข้างบนกราฟราคา หลักคิดเดียวกันกับแนวต้านเลย แต่ก็จะมีข้อแตกต่างกันอยู่
Demand Zone คืออะไร?
Demand Zone คือ โซนที่อยู่ข้างล่างของกราฟราคา โซนนี้ถ้าหากราคาลงไปแล้วก็จะมีแรงซื้อดันเอาไว้ ทำให้เราสามารถที่จะเปิด Order Buy เลย หากราคามาถึง Demand Zone เราอาจจะคาดการณ์ได้ว่าราคาน่าจะมีการเด้งขึ้นไป หลักการแนวคิดคล้ายกับแนวรับ แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน
จะสังเกตได้อย่างไรว่านี่คือ Supply หรือ Demand Zone
เราจะมาดูกันต่อว่าอะไรที่ทำให้ Demand กับ Supply Zone นั้นแตกต่างจากแนวรับแนวต้าน ซึ่งจุดสังเกตจะอยู่ที่แท่งเทียน หากมีแท่งเทียนที่มีโมเมนตัมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น ถ้าหากเป็นแท่งเที่ยนแนวโน้มขาขึ้น แล้วมีสามแท่งขึ้นไปเป็นแท่งสีเขียวที่ค่อนข้างใหญ่ ตรงนี้แหละคือจุดที่มีแรงซื้อเข้ามามหาศาล มีการซื้อเยอะ มีกองทุน มีกลุ่มสถาบันเข้ามาซื้อเยอะ ก็เลยทำให้แรงมีการปรับตัวขึ้นสูง ซึ่งทำให้สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าฐานที่ขึ้นมาหรือจุดแนวรับที่เด้งขึ้นมา จุดนี้เราเรียกว่าจุด Demand Zone
แล้วเราจะนับว่าจุดไหนเป็นจุดที่เกิด Demand Zone หรือ Supply Zone วิธีการดูคือให้ดูแท่งเทียนก่อนหน้าที่จะมีแท่งเทียนแท่งยาว ๆ เกิดขึ้น ทำการวัดจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของแท่งก่อนหน้า โดยกำหนดให้แท่งเทียนก่อนหน้านี้เป็นโซน
จะใช้ประโยชน์จาก Demand Supply Zone เพื่อทำกำไรในตลาด Forex ได้อย่างไร?
วิธีการใช้ประโยชน์ หากเป็น Supply Zone ก็จะตั้งให้เป็นแนวต้าน ถ้าราคามีการร่วงลงมาแล้ว ในตอนที่ราคาร่วงลงมาในช่วงแรกเราจะยังไม่เปิดออเดอร์ เราจะเปิด Order Sell ก็ต่อเมื่อราคาที่ขึ้นมาชนกับ Supple Zone ก็เตรียมตัวเปิด Order Sell ได้ แต่ในระหว่างนี้ก็ต้องระวังด้วยว่าราคาจะสามารถทะลุ Supply Zone ไปได้หรือไม่
หากเป็น Demand Zone ก็สามารถที่จะประเมินเบื้องต้นได้ว่าถ้าราคาลงมาชนกับ Demand Zone ก็สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าราคานี้ก็มีโอกาสที่จะเด้งกลับขึ้นไปได้ แต่ก็ต้องดูด้วยว่าตอนที่ราคาตกลงมาจะทะลุแนว Demand Zone ไปได้หรือไม่
เราได้พูดถึงการเข้าออเดอร์กันไปแล้ว ทีนี้เราจะมาพูดถึงการออกออเดอร์กันบ้าง ซึ่งการออกออเดอร์นั้นมีได้สองอย่างคือ Stop Loss และ Take Profit คือออกที่ทำกำไรและออกโดยขาดทุน โดยแนวทางที่จะพูดถึงจะเป็นดังนี้
สมมติว่าเข้า Order Buy ที่ Demand Zone เพราะหวังว่าราคาจะมีการปรับตัวขึ้น ให้ตั้ง Stop Loss เอาไว้หลัง Demand Zone แล้วก็ตั้ง Take Profit เท่ากับระยะของ Stop Loss หรือ RR 1:1 นั่นเอง
เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์กราฟด้วย Demand Supply Zone
ในการวิเคราะห์กราฟด้วย Demand Supply Zone มีเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์แล้วได้ประสิทธิภาพ นั่นคือ FIBONACCI ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้วิเคราะห์กราฟได้เป็นอย่างดี โดย Bravo Trade Academy ก็มีคอร์ส FIBONACCI ที่จะช่วยให้เข้าใจเครื่องมือได้เป็นอย่างดี
บทสรุป
ต้องบอกว่ากลยุทธ์ที่ใช้การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคนั้นไม่มีวิธีไหนถูกหรือผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งการวิเคราะห์ในเรื่องของ Demand Supply Zone แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ ๆ ละคนนั้นก็จะมีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไป และถ้าหากว่าใครลองทำแบบไหนแล้วได้กำไรก็สามารถใช้วิธีนั้นต่อไปได้เช่นกัน แต่สำหรับบทความนี้ก็ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งนั่นเอง
Source : The Trading Geek
สนใจคอร์สเรียน สัมมนาฟรี และข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่
Facebook: Bravo Trade Academy Global
YouTube: Bravo Trade Academy
Line@: BravoTradeAcademy
Instagram: Bravotradeacademy
TikTok: @bravo_tradeacademy
Twitter: Toeybravo
Website: www.bravotradeacademy.com